ค่าส่วนกลาง จ่ายแล้วไปไหน?

ผู้เข้าชมทั้งหมด :


เราจ่าย ค่าส่วนกลาง กันทำไม ?

ค่าส่วนกลางมีไว้สำหรับส่วนทรัพย์สินส่วนกลางที่จำเป็นต้องมีคนมาบำรุงรักษา ดูแลความปลอดภัย ซึ่งก็คือ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร นิติบุคคลอาคารชุด หรือ นิติบุคคลคอนโด โดยทางนิติบุคคลจะเรียกเก็บจากลูกบ้านทุกห้อง ทุกหลังในทุก ๆ ปี เพื่อนำเงินเหล่านี้ไปบำรุงทรัพย์สินส่วนกลางต่าง ๆ ที่ลูกบ้านใช้ร่วมกัน เช่น สวนในโครงการ สระว่ายน้ำ การทำความสะอาด ฟิตเนส ที่จอดรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าทำความสะอาดกระจกจากนอกอาคาร ค่าถังดับเพลิงที่ต้องเปลี่ยนตามกำหนดเวลา ระบบความปลอดภัย ในโครงการ เป็นต้น


แล้วต้องจ่ายเท่าไร?

การคำนวณจะคิดเป็นตารางเมตรตามที่ นิติบุคคล ได้กำหนดไว้  หากลูกบ้านถือครองห้องขนาด 30 ตารางเมตร ลูกบ้านก็จะต้องจ่ายในราคาของ 30 ตารางเมตรนั้นเอง ค่าส่วนกลางอาจจะมีการเพิ่มขึ้นได้ตามภาวะเงินเฟ้อและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

ซึ่งจำนวนค่าส่วนกลางจะแตกต่างกันไปแต่ละโครงการ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความมากน้อยของส่วนกลางว่ามีฟังก์ชันที่ใช้ในส่วนกลางมากน้อยแค่ไหน ขนาดความเล็กใหญ่ของโครงการ และจำนวนยูนิตในของแต่ละโครงการ อาจสังเกตได้ว่าโครงการ High rise ที่มีส่วนกลางให้ใช้มากกว่าจะเก็บค่าส่วนกลางในราคาพอ ๆ กับโครงการ Low rise ที่ส่วนกลางไม่มากนัก ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะโครงการ High rise มียูนิตจำนวนมากในการช่วยหารค่าส่วนกลางเหล่านี้นั่นเอง


ค่าส่วนกลาง จ่ายเมื่อไหร่

โดยส่วนใหญ่มักจะถูกกำหนดวันให้ชำระล่วงหน้า ซึ่งจะต้องจ่ายทุกปี เป็นการจ่ายแบบล่วงหน้า 1 ปีเป็นอย่างต่ำ แต่บางโครงการอาจจะเก็บล่วงหน้า 2 – 3 ปี ซึ่งในช่วง 2-3 ปีนี้ ลูกบ้าน จะไม่ต้องจ่ายค่าส่วนกลางเลยและหลังจากนั้นลูกบ้านจะต้องจ่ายตามปกติ ซึ่งทาง นิติบุคคลคอนโด จะแจ้งล่วงหน้าในแต่ละปีออกเป็นใบแจ้งหนี้ค่าส่วนกลาง


ไม่มีคนอยู่ต้องจ่าย ค่าส่วนกลาง ไหม

ในกรณีซื้อไว้ลงทุน ถึงไม่มีคนอยู่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ต้องเป็นผู้จ่าย เพราะผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็มีหน้าที่ต้องออกค่าใช้จ่าย
ส่วนกลางเพื่อบำรุงทรัพย์สินส่วนกลาง ซึ่งหากไม่จ่ายจะทำให้ไม่สามารถขายได้ เนื่องจากเจ้าของจะต้องยื่นหนังสือรับรองการปลอดหนี้ที่ลงนามโดยผู้จัดการ อาคารชุด นั้นๆและเจ้าหน้าที่ที่ดิน จึงจะสามารถขายทอดตลาดอย่างถูกกฎหมายได้


ไม่จ่าย ค่าส่วนกลาง ได้ไหม

การที่ลูกบ้านไม่ยอมจ่ายค่าส่วนกลางไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตนเองที่ไม่สามารถใช้ทรัพย์ส่วนกลางได้เท่านั้นยังมีผลกระทบต่อส่วนรวมอีกด้วย เพราะหากส่วนกลางไม่มีเงินมาดูแลรักษา ส่วนกลางก็จะทรุดโทรมไม่สวยงาม และที่สำคัญที่สุดก็จะกลายเป็นปัญหาลุกลามส่งกระทบต่อมูลค่าของ คอนโด ที่ส่งผลให้ขายต่อได้ยาก

และราคาอาจจะลดลงกว่าตอนที่ซื้อในช่วงแรก เป็นเพราะลูกบ้านไม่ให้ความสำคัญกับค่าส่วนกลางนั่นเอง ปกติทางนิติบุคคล จะส่งจดหมายแจ้งเบื้องต้นก่อน หากระยะเวลาผ่านไปเรื่อยๆแล้วยังไม่จ่าย ฝ่ายนิติบุคคลก็อาจมีการปรับหรือระงับการให้บริการสาธารณูปโภค ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าข้อบังคับระบุไว้ว่าอย่างไร ที่สำคัญหากไม่จ่ายค่าส่วนกลางเลย ก็ไม่สามารถขายคอนโดนั้นได้

เพราะเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจะรับจดทะเบียนนิติกรรมห้องชุด ก็ต่อเมื่อห้องชุดนั้น ๆ ไม่มีหนี้ค้างชำระค่าส่วนกลางใด ๆแล้วและบริษัท นิติบุคคล อาคารชุด สามารถยื่นฟ้องบังคับชำระหนี้เงินค่าส่วนกลางต่อศาลได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วฝ่ายนิติบุคคลมักจะชนะคดีแทบจะ 100 %

จ่าย ค่าส่วนกลาง ทำไม

การบริหารจัดการโครงการ ของ นิติบุคคล เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพราะ นิติบุคคล ถือว่าเป็นตัวแทนของ ลูกบ้าน ในการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆภายในโครงการ ดังนั้นลูกบ้านควรเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปีทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของ นิติบุคคล และรับฟังรายงานประจำปี เกี่ยวกับจำนวนเงินที่เราได้เสียค่าส่วนกลางไปนั้นนิติบุคคล นำไปใช้อะไรบ้าง ใช้อย่างถูกต้องหรือไม่ เพราะหากเกิดปัญหาการใช้จ่ายขึ้นมาคนที่ต้องรับภาระหนี้สินที่แท้จริงก็คือลูกบ้าน จึงควรเข้ารับฟังเพื่อทราบรายละเอียด และเป็นการป้องกันปัญหาอีกทาง

 


ploy เกี่ยวกับ Kwanjai

Kwanjai by BUILK คือ ระบบประสานงานแจ้งซ่อมหลังการขายอสังหาริมทรัพย์
Home Service สำหรับโครงการอสังหาฯ ที่ช่วยให้ลูกบ้านของคุณได้รับการบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจากทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ระบบขวัญใจถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยความเข้าใจในกระบวนการแจ้งซ่อมหลังการขาย ของโครงการหมู่บ้านและคอนโดเป็นอย่างดี เพราะเราเชื่อว่า “ความพึงพอใจสูงสุดของลูกบ้าน คือความสำเร็จสูงสุดของธุรกิจของคุณ”

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม